เคล็ดลับหน้าใสไร้สิว การรักษาสิวและลดรอยดำจากสิวแบบครบวงจร

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน คือ “สิว” โดยสิวเกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง สภาวะแวดล้อม และการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนใช้วิธีป้องกันและการรักษาสิวแบบผิด ๆ จนทำให้เกิดรอยดำ รอยแดงจากสิว 

วันนี้หมอเลยมีการรักษาสิวแบบถูกต้องมาฝากทุกคน เพื่อใบหน้าที่เนียนใสไร้สิวและเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง

ทั้งนี้ สิวคืออะไร สิวมีกี่ประเภท สาเหตุที่ทำให้เกิด วิธีการรักษาสิว การป้องกันสิวมีอะไรบ้าง วิธีลดรอยแดงและรอยดำจากสิวเป็นอย่างไร วิธีการรักษาสิวทางการแพทย์มีแบบไหนบ้าง หมอจะอธิบายอย่างละเอียดในบทความนี้


 สิวคืออะไร

สิว คือ โรคทางผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากต่อมไขมันในรูขุมขนอักเสบ เนื่องจากต่อมไขมันผลิตน้ำมันและไขมันมากจนเกินไป ทำให้ไขมันระบายออกจากรูขุมขนไม่ทัน จนเกิดการสะสมและจับตัวกันเป็นก้อนในรูขุมขน เกิดเป็น โคมีโดน (Comedone)  หรือสิวอุดตันที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนนั่นเอง ทั้งนี้ หากสิวอุดตันนี้ติดเชื้อแบคทีเรียขึ้นมา ก็จะทำให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังบนผิวหนัง หรือที่เรียกว่าสิวอักเสบได้

ตามปกติแล้ว หมอจะพบสิวบริเวณใบหน้า คาง คอ แผ่นหลังช่วงบน หน้าอก หรือไหล่ของคนไข้ เพราะเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันจำนวนมาก โดยสิวจะพบมากในช่วงวัยรุ่นอายุ 14-19 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงเยอะที่สุด อย่างไรก็ตาม สิวจะเกิดน้อยลงหรือหายไปเมื่ออายุ 20-25 ปี แต่บางคนอาจเป็นสิวจนถึงอายุ 40 เลยก็ได้ ดังนั้น หมอจึงอยากจะแนะนำการรักษาสิวที่เหมาะสมให้


 สิวมีกี่ประเภท

ก่อนจะไปสู่การรักษาสิว หมอได้จำแนกประเภทของสิวไว้ 2 ประเภท ตามการเกิดและความรุนแรง ดังนี้

 สิวอักเสบ

สิวอักเสบ (inflammatory acne) คือ สิวที่พัฒนาต่อมาจากสิวอุดตัน โดยเกิดขึ้นเมื่อน้ำมันและไขมันที่อุดตันอยู่ในรูขุมขนมีภาวะไร้ออกซิเจน จนทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ทำให้สิวก่อตัว หรือที่เรียกว่า P.acnes (Propionibacterium acnes) ซึ่งการติดเชื้อของแบคทีเรียนี้เป็นจุดเริ่มต้นของสิวอักเสบ โดยหมอแบ่งสิวอักเสบออกเป็น 4 ชนิด ตามความรุนแรงของการอักเสบ ดังนี้

  • สิวตุ่มแดง (Papule) พัฒนามาจากสิวอุดตันที่ได้รับการกด บีบ หรือแกะอย่างบ่อยครั้งจนทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในรูขุมขน ทำให้สิวอุดตันนั้นกลายเป็นสิวอักเสบ
  • สิวหัวหนอง (Pustule) เป็นสิวที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระยะเวลาหนึ่ง จนกลายเป็นหนองใต้ผิวหนัง หากบีบหรือกดสิวด้วยตนเองอาจทำให้การอักเสบลุกลามได้ จนกลายเป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรง
  • สิวหัวช้าง (Nodule) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปสู่ชั้นผิวหนังในระดับลึก แม้สิวหัวช้างจะไม่มีหัวและหนองปรากฏ รวมถึงยังมีลักษณะเป็นไต แต่สิวหัวช้างเป็นสิวอักเสบที่ค่อนข้างรุนแรง ไม่สามารถบีบหรือกดสิวด้วยตัวเอง ดังนั้นควรเข้ารับการรักษาสิวอย่างถูกวิธีกับหมอผู้เชี่ยวชาญ
  • สิวก้อนกลมรุนแรง หรือที่เรียกกันติดปากว่า สิวซีสต์ (Severe Nodule Acne) เป็นสิวหัวช้างที่เกิดการอักเสบรุนแรง ดังนั้น หากใครที่เกิดสิวชนิดนี้ควรพบหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกวิธี

 สิวอุดตัน

สิวอุดตัน คือ สิวที่ไม่มีอาการอักเสบ (non-inflammatory acne) เกิดจากน้ำมันและไขมันจำนวนมากอุดตันบริเวณรูขุมขน ทำให้เซลล์ผิวหนังสร้างสารเคราตินขึ้นมา เป็นผลให้น้ำมันและไขมันจับตัวกันเป็นก้อน เลยเกิดเป็นสิวอุดตันที่มีลักษณะไม่มีหัว หรือที่เรียกว่าสิวผด หรือสิวเสี้ยน ซึ่งสิวอุดตันมี 2  ชนิด ได้แก่

  • สิวหัวปิด หรือสิวหัวขาว (Whiteheads) เป็นสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มไตเม็ดเล็ก ๆ บีบออกได้ยากเพราะรากสิวฝังลึกในชั้นผิวหนัง ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานจะมีโอกาสพัฒนาเป็นสิวอักเสบได้
  • สิวหัวเปิด หรือสิวหัวดำ (Blackheads) เกิดจากน้ำมันทำปฏิกิริยา Oxidation กับออกซิเจนในอากาศ ทำให้ไขมันที่อุดตันอยู่ในเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วกลายเป็นสีดำ สิวชนิดนี้จึงมีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีดำเล็ก ๆ 

 สาเหตุที่ทำให้เกิดสิว

ปัญหาสิวอุดตันและสิวอักเสบเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นได้ทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาสิวที่ต่างกันออกไป ซึ่งหมอได้รวบรวมสาเหตุหลักของการเกิดสิวไว้ดังนี้

 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ปริมาณฮอร์โมนในร่างกายจะเพิ่มมากขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งฮอร์โมนจะไปกระตุ้นการสร้างน้ำมันใต้รูขุมขนให้ผลิตน้ำมันมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดสิวอุดตันได้ง่าย

 ความมันบนใบหน้า

หน้ามันเกิดจากภาวะที่ต่อมไขมันบริเวณผิวหน้าผลิตไขมันจำนวนมาก ทำให้ผิวหนังที่ผลัดเซลล์ไม่ได้ระบายออกจากรูขุมขน แต่จับตัวกันเป็นก้อนกับไขมัน จนเกิดการอุดตัน และหากเกิดเชื้อแบคทีเรียก็จะกลายเป็นสิวอักเสบตามมาได้

 การใช้ยาบางชนิด

สิวอาจเกิดขึ้นได้จากผลข้างเคียงของยาที่เรารับประทาน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องกินยารักษาโรคเป็นประจำ ซึ่งตัวยาที่มักทำให้เกิดสิว ตลอดจนมีรอยแดงจากสิว ได้แก่ 

  • ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids)
  • แอนโดรเจนที่มีฤทธิ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อ (anabolic-androgenic steroids)
  • เทสโทสเตอโรน (testosterone)
  • โพรเจสติน (progestins)
  • ยาต้านอาการทางจิต (antipsychotics)
  • ยารักษาวัณโรค (antituberculous drugs)
  • ยาต้านโรคลมชัก (antiepileptics)
  • แฮโลเจน (halogens)
  • ตัวยาอื่น ๆ เช่น วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 ยารักษาโรคมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านซึมเศร้า  เป็นต้น

 การแพ้เครื่องสำอาง

เครื่องสำอางและครีมบำรุงที่เราใช้อยู่ทุกวันมีส่วนผสมของสารเคมี ซึ่งบางชนิดเราอาจจะแพ้ได้โดยไม่รู้ตัว และสิ่งที่ตามมาก็คือสิวอักเสบที่เกิดจากเครื่องสำอาง และนำไปสู่รอยดำจากสิว ดังนั้น ควรเลือกใช้เครื่องสำอางที่ได้มาตรฐานและมีสารประกอบที่ปลอดภัย  

 กรรมพันธุ์

กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะกรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนดสภาพผิวและขนาดของต่อมไขมัน หากคนในครอบครัวมีสภาพผิวที่มัน รูขุมขนกว้าง เกิดสิวง่าย เราที่ได้รับสารพันธุกรรมเหล่านี้มาครึ่งหนึ่ง หรือเสี้ยวหนึ่ง ก็มีโอกาสเป็นสิวได้ง่ายเช่นกัน

 สิ่งแวดล้อม มลภาวะ

นับเป็นหนึ่งปัจจัยภายนอกที่เราหลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะฝุ่น ควัน มลพิษที่ลอยอยู่ในอากาศที่เราต้องเจออยู่ทุกวัน อาจเข้าไปอุดตันรูขุมขนจนทำให้เกิดสิว อีกทั้งสภาวะอากาศไม่ว่าจะร้อน หนาว แห้ง ล้วนทำให้ผิวหน้าได้รับผลกระทบ และส่งผลต่อการเกิดสิวแทบทั้งสิ้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดสิว เช่น การแพ้เครื่องสำอาง

 วิธีการรักษาสิว

วิธีการรักษาสิวเริ่มต้นง่าย ๆ จากตัวเอง โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลผิวหน้า เช่น การล้างหน้าให้สะอาด การรับประทานอาหาร และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น แต่หากใครที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่สิวยังไม่หายไป ในหัวข้อนี้หมอจะขอแนะนำวิธีการรักษาสิวทางการแพทย์ ที่เห็นผลเร็วและเห็นผลดีในระยะยาว ดังนี้

 ทายา กินยา

หากใครที่เป็นสิวได้ง่าย และเกิดสิวอักเสบทั่วใบหน้า การรักษาสิวด้วยการใช้ยา ทั้งแบบทาและแบบกินจึงเป็นวิธีหลักของการรักษาที่ขาดไม่ได้ โดยหมอจะให้ยาสำหรับทารักษาสิว เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดอาการอักเสบ 

อีกทั้งยังช่วยลดการอุดตันของน้ำมันและไขมันบนผิวหน้าอีกด้วย โดยยาทาที่หมอนิยมใช้รักษาคนไข้มีหลายชนิด เช่น ยาทาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก ยาทาที่มีส่วนผสมของเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากมีรอยสิว หมอก็จะแนะนำตัวยาที่ลดรอยสิวร่วมด้วย

 กดสิว ฉีดสิว

ตามปกติแล้ว หมอจะใช้การรักษาสิวด้วยการกดสิวและฉีดสิวกับผู้ที่มีอาการสิวอักเสบ โดยการฉีดสิวอักเสบจะช่วยให้อาการอักเสบลดลง และผิวหนังบริเวณที่เกิดการอักเสบจะยุบตัวจนเหลือแต่หัวสิว 

จากนั้นหมอจึงใช้วิธีกดสิวเพื่อให้หัวสิวออก ซึ่งหลังจากการรักษาด้วยการกดสิวและฉีดสิวแล้ว หมอจะฉีด Made Collagen เพื่อเติมเต็มวิตามินที่จำเป็นต่อการบำรุงผิวหน้า ทำให้นอกจากหน้าจะหายสิวแล้วยังดูเนียนใสสุขภาพดีด้วย

 มาส์กหน้าฆ่าเชื้อสิว

วิธีมาส์กหน้าจะช่วยลดอาการอักเสบและลดรอยสิว ทั้งยังช่วยกำจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้างหรืออุดตันอยู่ในรูขุมขน รวมถึงทำให้รูขุมขนบนใบหน้ากระชับได้อีกด้วย โดยหมอจะนำสารสกัดจากธรรมชาติ อย่างเช่นกรดจากผลไม้และวิตามินต่าง ๆ นำมาพอกหน้าหลังจากการกดสิว เพื่อช่วยลดการระคายเคืองและฆ่าเชื้อในรูขุมขนให้หมดไป

 เลเซอร์รักษาสิว

เลเซอร์รักษาสิว เป็นวิธีที่หมอจะใช้พลังงานคลื่นแสงยิงเข้าสู่ชั้นผิวหนังเพื่อลบรอยสิวและปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ โดยเลเซอร์จะเข้าไปกระตุ้นให้เม็ดสีแตกตัวและสลายเม็ดสีให้จางลง ทำให้ผิวหน้าเรียบเนียน กระจ่างใส ไร้รอยสิว โดยเลเซอร์ที่หมอนิยมใช้เลเซอร์รักษาสิวให้คนไข้ คือ Q-switch Laser ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่ใช้รักษาความผิดปกติของเม็ดสี ช่วยแก้ไขเรื่องรอยดำ รอยแดง และสีผิวไม่สม่ำเสมออันเกิดจากสิว

เลเซอร์รักษาสิว

 การป้องกันสิว

นอกจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกนอกแล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อาจปล่อยละเลย เป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้ไม่ยาก ซึ่งหากอยากป้องกันผิวหน้าให้เนียนใสไร้สิว หมอแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

  • ล้างหน้าให้สะอาด เพื่อล้างสิ่งสกปรกเครื่องสำอางที่อุดตันอยู่บริเวณรูขุมขน แต่ไม่ควรล้างหน้ามากกว่า 2-3 ครั้งต่อวัน เพราะจะทำให้ผิวหน้าแห้งเป็นขุยได้
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิว ผู้ที่มีผิวหน้ามัน ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมน้ำมันเป็นหลัก เพราะจะยิ่งเพิ่มความมันให้กับใบหน้า
  • ไม่ควรเกา แกะ บีบ หรือกดสิวอุดตันด้วยตัวเอง เพราะจะทำให้สิวอักเสบขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดรอยดำและรอยแดงจากสิว รวมถึงกลายเป็นแผลเป็นลึกบนใบหน้าได้อีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน เพราะอาหารเหล่านี้เป็นตัวการทำให้เกิดไขมันและน้ำมัน หากกินในปริมาณมากและบ่อยครั้ง อาจทำให้ต่อมไขมันต้องขับน้ำมันบนผิวหน้าออกมาจำนวนมาก จนทำให้เกิดสิวในที่สุด
  • ไม่นอนดึก เพราะการนอนดึกทำให้ร่างกายฟื้นฟูสภาพผิวไม่เพียงพอ อีกทั้งยังทำให้ร่างหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมาเป็นจำนวนมาก รูขุมขนก็เลยกว้างขึ้น สิวอุดตันและสิวอักเสบจึงตามมา ดังนั้น หมอจึงแนะนำว่าควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

 รอยดำ รอยแดงที่เกิดจากสิวรักษาได้อย่างไร

หลังเกิดสิวอักเสบ ผิวหน้ามักปรากฏร่องรอยของหลอดเลือดที่ขยายตัว นั่นคือ รอยดำจากสิว รอยแดงจากสิว และรอยหลุมลึก ซึ่งอาจใช้เวลานานหลายเดือนกว่าร่องรอยเหล่านี้จะหายไป หมอเลยมีการรักษาสิว วิธีลดรอยสิว และวิธีรักษาหลุมสิวที่ได้ผลมาแนะนำ ดังนี้

 รอยดำ รอยแดงจากสิว

รอยดำจากสิวและรอยแดง โดยทั่วไปหมอจะใช้เลเซอร์รักษาสิว อย่างพวก Q-switch Laser ที่มีความยาวคลื่นแสงอยู่ที่ 532- 1,064 นาโนเมตร เพื่อให้คลื่นแสงลงไปสู่ชั้นผิวหนังในระดับตื้นและระดับลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเลเซอร์รักษาสิวชนิดนี้จะช่วยรักษารอยดำ รอยแดงจากสิว และปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ ทำให้หน้าเนียนใสไม่หมองคล้ำ

 รอยหลุมสิว

รอยหลุมสิวเกิดจากการกดหรือการบีบสิวด้วยตัวเองแบบผิดวิธี เป็นผลให้เซลล์ผิวหนังสร้างเซลล์ใหม่และกระตุ้นคอลลาเจนมาสมานแผลไม่สมบูรณ์ จนทำให้เกิดรอยแผลฝังลึกเป็นหลุม ซึ่งหมอจะใช้เลเซอร์รักษาสิวที่มีความยาวคลื่น 10,600 นาโนเมตร เพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวใหม่ รักษาหลุมสิว ทำให้ผิวหน้าส่วนที่เป็นหลุมลึกได้รับการเติมเต็ม

 คีรอยด์ 

แผลคีลอยด์เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการสมานแผล โดยแผลคีลอยด์จากสิว เกิดขึ้นเมื่อเราบีบสิวจนเป็นแผลลึก แล้วร่างกายผลิตเซลล์ผิวหนังและคอลลาเจนขึ้นมาจำนวนมากเกินไป ทำให้เกิดรอยแผลนูนบนใบหน้า ซึ่งหมอก็จะใช้วิธีรักษาด้วยเลเซอร์รักษาสิวอีกเช่นเดิม โดยหมอจะเลือกเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นที่ส่งผลต่อหลอดเลือด นั่นคือ Q-switch Laser  ที่มีความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร เพื่อกระตุ้นการเรียงตัวของคอลลาเจนและเซลล์ผิวหนังให้กลับมาปกติ


 รักษาสิวที่ Aya Clinic

การรักษาสิวด้วยวิธีทางการแพทย์มีให้เราเลือกรักษาหลากหลายแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับปัญหาสิวและสภาพผิวหน้าของแต่ละคน ซึ่งคลิกนิกของหมอออกแบบวิธีการรักษาสิวไว้ 3 แบบด้วยกัน ได้แก่

 โปรแกรม Acne Clear

หมอจะใช้โปรแกรมรักษาสิว Acne Clear กับผู้ที่มีสิวอุดตันอันเกิดจากฮอร์โมนและสิวอักเสบ โดยโปรแกรมนี้จะช่วยลดการทำงานของต่อมไขมันบนผิวหน้า ควบคู่กับการรักษารอยดำ รอยแดง และแผลเป็นจากสิว ซึ่งขั้นตอนการรักษาจะประกอบด้วย

  • ทรีตเมนต์มาส์ก ช่วยลดการอักเสบของต่อมไขมัน
  • การฉีดยา เพื่อลดอาการอักเสบของสิวและสะกิดหัวสิวออก
  • การใช้ยาทาและยากิน เพื่อป้องกันการเกิดสิวซ้ำ

 โปรแกรม Acne Clear + AWL Laser

นอกจากการรักษาสิวให้หายแล้ว โปรแกรมนี้ยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการรักษารอยดำ รอยแดงจากสิว หรือผู้มีสีผิวไม่สม่ำเสมอ รวมถึงผู้ที่ต้องการรักษาหลุมสิวด้วย โดยหมอจะใช้โปรแกรมเลเซอร์รักษาสิว AWL Laser ยิงเข้าสู่ผิวหนัง เพื่อกระตุ้นให้เม็ดสีแตกตัว ส่งผลให้เม็ดสีดำจางลง และร่องรอยความหมองคล้ำที่เกิดจากสิวก็จะหายไป 

หลังทำเลเซอร์รักษาสิวนี้ หมอจะทำ Facial gold treatment เพื่อกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหน้าใหม่และบำรุงผิวหน้า ทำให้หน้าเนียนกระจ่างใส ไร้ความหมองคล้ำ อีกทั้งยังแลดูเอิบอิ่มสุขภาพดี และวิธีนี้จะเห็นผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ

 โปรแกรม Acne Clear + Treatment 6 ขั้นตอน

โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสิวร่วมกับการบำรุงผิวหน้าให้ดูกระจ่างใส ไม่หมองคล้ำ โดยหมอจะประเมินระดับความรุนแรงของสิวก่อน หากมีสิวอักเสบก็จะฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบ จากนั้นจึงกดสิว และเมื่อรักษาสิวจนหายดีแล้ว หมอจะทำทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้า 6 ขั้นตอน เพื่อกำจัดรอยดำ รอยแดง และกระชับรูขุมขน เรียกได้ว่าจบคอร์สแล้ว หน้าจะแลดูกระจ่างใสไร้สิวแน่นอน


 สรุป

ปัญหาสิวเกิดจาการอุดตันของไขมันและสิ่งสกปรก ทางเลือกในการรักษาสามารถทำได้ด้วยตัวเอง แต่หากขั้นรุนแรง หมอแนะนำว่าควรรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น การฉีดสิว การกดสิวแล้วฉีดMade Collagen การทำทรีตเมนต์ หรือการทำเลเซอร์รักษาสิวด้วย Q-switch Laser เป็นต้น ซึ่งวิธีการรักษาสิวที่หมอเสนอมาเหล่านี้มีความปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับใครที่สนใจการรักษาสิว รอยดำ รอยแดง และสีผิวที่ไม่สม่ำเสมออันเกิดจากสิว สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อสอบถามข้อมูลการรักษากับหมอเพิ่มเติมได้ หมอยินดีตอบทุกเคสและฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย

Acne Clear
โปรแกรมรักษาสิว

เอกสารอ้างอิง

Valencia Higuera. (2020). What Is Acne? Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment, and Prevention. Retrieve from https://www.everydayhealth.com/acne.aspx 

WebMD Editorial Contributors. (2021). What Are Acne Causes and Treatments?. Retrieve from https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/acne-causes